ใครที่กำลังรู้สึกว่าการจากเบี้ยประกันเป็นเรื่องสิ้นเปลือง เพราะไปเช็คเบี้ยประกันรถยนต์แล้วรู้สึกว่ายอดค่อนข้างสูงจนไม่อยากรับภาระค่าใช้จ่ายตรงนี้ ขอบอกเลยว่านอกจากเรื่องของสินเชื่อและการบำรุงรักษาเครื่องยนต์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์มากก็คือเรื่องของประกันรถยนต์นั่นเอง เพราะการที่จะขับขี่ยานยนต์ไปบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจนั้น ก็ควรจะมีความคุ้มครองดีๆ จากแผนประกันรถยนต์ที่คอยดูแลอยู่ด้วย เผื่อว่าในกรณีฉุกเฉินที่เกิดเหตุไม่คาดฝันใดๆ ขึ้น วงเงินคุ้มครองจากประกันจะเข้ามาช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

เบี้ยประกันภัยรถยนต์ คือ เงินที่ผู้เอาประกันรถยนต์ต้องชำระเพื่อแลกกับการรับความคุ้มครองตามข้อตกลงของแผนประกัน แผนนั้นๆ โดยการเรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันรถยนต์นั้นก็จะมีทั้งรูปแบบของการชำระแบบเป็นงวด คือทยอยชำระไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะครบยอดตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ กับอีกรูปแบบก็คือการชำระแบบเหมาจ่าย เป็นการชำระเงินก้อนเพียงครั้งเดียวแล้วจากนั้นก็จะได้รับความคุ้มครองไปจนกว่าจะครบเวลาตามที่กำหนดไว้ในกรรมธรรม์

และสำหรับใครที่อาจจะยังไม่สันทัดเรื่องการทำประกันรถยนต์มากนัก จึงยังไม่แน่ใจว่า ก่อนจะเลือกความคุ้มครองสักแผน จะต้องมีปัจจัยอะไรมาประกอบการตัดสินใจบ้าง บทความนี้นำคำแนะนำมาฝากแล้ว

ประเมินตนเอง

เพื่อให้รู้ว่าตัวคุณนั้นมีความเหมาะสม หรือมีคุณสมบัติใดที่ขาดตกบกพร่องไปบ้าง เริ่มจากการลิสต์สิ่งที่ต้องการจากประกันรถยนต์, ลักษณะการใช้งานรถยนต์, พฤติกรรมการขับขี่ รวมทั้ง งบประมาณที่มี เพียงพอต่อการจ่ายเบี้ยประกันหรือไม่ โดยแนะนำว่า ควรเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ว่าเป็นยอดที่ไม่เกินร้อยละ 30 ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เพื่อไม่ให้เป็นการไปรบกวนการใช้จ่ายจนเกินไป

พิจารณาความเสี่ยง

เพราะรถยนต์แต่ละคันก็มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน บางคนอาจใช้ขับขี่ทางไกลเป็นหลัก แต่บางคนอาจใช้ขับขี่ในระยะใกล้ เป็นรถสำหรับครอบครัว ปัจจัยเหล่านี้ก็จะมีผลต่อราคาเบี้ยประกันภัย หากพิจารณาโดยรวมแล้วเล็งเห็นว่า การใช้รถยนต์ลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูง ก็สมควรได้รับความคุ้มครองที่มากกว่า เช่น การใช้รถยนต์ขับขี่ไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยบ่อยๆ หรือรถยนต์คันนี้เปลี่ยนมือผู้ขับบ่อย ก็สมควรที่จะได้รับความคุ้มครองที่มากกว่า

ผู้ขับขี่ยานยนต์

โดยส่วนมากแล้ว บริษัทฯ มักจะพิจารณาค่าเบี้ยประกันรถยนต์โดยดูสถานภาพของผู้ขับขี่ประกอบการพิจารณาด้วย ว่าผู้ขับขี่เป็นบุคคลเพศใด อายุเทาใด และมีประวัติการขับขี่เป็นอย่างไรบ้างในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพราะปัจจัยเหล่านี้สามารถบ่งบอกได้ว่ารถยนต์จะมีแนวโน้มเสี่ยงมากกว่าหรือไม่ค่อยมีความเสี่ยงมากนัก หากเล็งเห็นว่ามีความเสี่ยงสูงก็อาจปรับค่าเบี้ยประกันรถยนต์สูงขึ้นเพื่อความเหมาะสม